สาระน่ารู้ เกี่ยวกับ ' งานอาคารสถานที่ '

อาคาร สถานที่  คำว่า “อาคาร” หมายความว่า  ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้าสำนักงานและสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้  และอาคารแต่ละชนิดยังมีความแตกต่าง ทั้งรูปแบบการใช้งานและ ตัวผู้ใช้งาน และลักษณะเฉพาะของแต่ละอาคารสถานที่

อาคาร สถานที่ ที่นึงจะเกิดขึ้นมาได้ ย่อมผ่านการออกแบบ ตาม วัตถุประสงค์การใช้งานสำหรับผู้ใช้งาน, ตามประโยชน์ใช้สอยที่แตกต่างกันออกไป  ในอาคารนึงหลังย่อมประกอบไป ด้วย ห้องต่างๆ,ห้องใช้งานเพื่อผู้เข้ามาใช้อาคาร ห้องสำหรับระบบวิศวกรรม เช่น ถ้าเป็นคอนโดมิเนียมก้อจะมีห้องนอนห้องน้ำ ห้องเครื่อง ถ้าเป็นบ้าน คงจะมีห้องต่างๆเช่น ห้องรับแขก ห้องนอนห้องน้ำ ห้อง ครัว ห้องนั่งเล่น  เป็นต้น และในขณะเมื่อมีการใช้งานก็ย่อมจะทรุดโทรมหรือเสื่อมถอยตามสภาพการใช้งาน ตามสภาพกาลเวลา และจำเป็นต้องมีงานด้านบริหารจัดการอาคารสถานที่เพื่อดูแลรักษา อาคารสถานที่อย่างสม่ำเสมอเพื่อการใช้งานให้คุ้มค่าการลงทุนตามวัตถุประสงค์ของอาคารสถานที่นั้นนั้น

และในส่วนของงานด้านอาคารสถานที่ คือ งานการดูแลอาคารสถานที่ให้มีความสะอาดปลอดภัย มีบรรยากาศที่น่าใช้งาน มีความร่มรื่น สวยงาม เป็นระบบระเบียบ และ ตลอดจนการดูแลรักษาซ่อมแซมอาคาร ระบบอาคารให้สามารถ ใช้งานได้ตลอดเวลาตามความเหมาะสม หรือ ตามวัตถุประสงค์ของการใช้งานของอาคารสถานที่นั้นนั้น  หากขาดการดู แลรักษาซ่อมบำรุงแล้ว อาคารสถานที่ก้อจะขาดกิจกรรม ขาดการใช้งานอย่างต่อเนื่อง และ เกิดการเสื่อม สภาพ ท้ายที่สุด ก้อคงไม่มีใครอยากจะมาใช้สถานที่ นั้น และกลายเป็นอาคารล้าง หรืออาคารที่ไม่มีมูลค่าเชิงเศรษฐศาสตร์ และสุนทรีศาสตร์

จะเห็นได้ว่าความจำเป็นของงานด้านบริหารจัดการทรัพยากรกายภาพ อาคารสถานที่ นั้นเพื่อ การดูแลรักษา ให้อาคารสามารถใช้งานได้ยาวนานที่สุด หรือ ตลอดอายุอาคาร และเพื่อเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตามวัตถุประสงค์ของอาคาร สถานที่นั้น  ทั้งนี้ต้องคำนึงถึง ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และสอดคล้องกับ อาคารสถานที่ ผู้ใช้สอยอาคาร กิจกรรมองค์กรตลอดจนวัฒนธรรมขององค์กร

โดยทั่วไปงานด้านบริหารจัดการทรัพยากรกายภาพ อาคารสถานที่ ที่พบเห็นบ่อยบ่อย มักจะอยู่ในรูปแบบแผนกซ่อมบำรุง หรือแผนกวิศวกรรมงานอาคารสถานที่ และมักจะเป็นงานที่ถูกพูดถึงหลังสุด หรือไม่ได้ให้ความสำคัญเท่าไหร่นัก อาคารหลังนึงเริ่มต้นจากความต้องการของเจ้าของโครงการ  สู่ขั้นตอนการศึกษาความเป็นไปได้ทั้งด้านเศรษฐศาสตร์การเงิน ด้านกายภาพ สู่การออกแบบในขั้นที่เป็นเพียง2มิติหรือบนกระดาษโดยผู้ออกแบบ(สถาปนิก และวิศวกร)  สู่ขั้นตอนก่อสร้าง และเข้าใช้งาน จนอาคารมีอายุและเสื่อมสภาพ จนต้องปรับปรุงทำนุบำรุง หรือทุบรื้อทิ้งสร้างใหม่ และเริ่มขั้นตอนโครงการเป็นวัฎจักรอีกครั้ง ซึ่งใช้ทรัพยากรมหาศาล ทั้งเงินที่ลงทุนทั้งวัสดุก่อสร้าง และทรัพยากรแรงงาน

ช่วงเข้าอยู่เข้าใช้ อาคารเป็นช่วงที่มีระยะเวลานานที่สุด และเป็นช่วงที่อาคารสถานที่ต้องการการดูแลรักษาทำนุบำรุงรักษา เพื่อรักษาสภาพ เพื่อให้กิจกรรมดำเนินไปอย่างไม่ติดขัด และปลอดภัยต่อชีวีตและทรัพย์สิน   งานบริหารจัดการทรัพยากรกายภาพ อาคารสถานที่ จึงเป็นตัวแปร เป็นปัจจัยนึงที่มีผลโดยตรงทั้งยังเป็นการเพิ่มมูลค่าอาคาร 

Content's Picture

Comment(s)


Vote this Content ?

Create by :


Phonchai

Status : ผู้ใช้ทั่วไป
คอมพิวเตอร์ธุรกิจ