หน่วยการเรียนรู้ที่ 4

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
กำหนดค่า BIOS

            หลังการประกอบเครื่องเสร็จเรียบร้อยแล้ว สิ่งหนึ่งที่ควรทำก็คือการปรับแต่งค่าต่าง ๆ ของระบบ เพื่อการทำงานเป็นไปอย่างถูกต้อง เช่น การกำหนดวัน/เวลาให้กับระบบ กำหนดลำดับของอุปกรณ์เพื่อใช้เป็นตัวบู๊ตเครื่อง เป็นต้น ค่าต่าง ๆ เหล่านี้เราสามารถกำหนดได้จากหน้าจอปรับต่าง BIOS ซึ่งทางผู้ผลิตได้กำหนดค่าเบื้องต้นไว้ส่วนหนึ่งแล้ว แต่เราสามารถปรับแต่งเพิ่มเติมภายหลังได้ตามความต้องการ

4.1  รู้จักกับ  BIOS                     
            BIOS (ไบออส) มาจากคำว่า Basic Input/Output System เป็นโปรแกรม ที่ถูกเก็บอยู่ภายใน CMOS ซึ่งเป็นหน่วยความจำแบบ ROM (Read Only Memory) ทำหน้าที่เก็บค่าต่าง ๆ ที่กำหนดการทำงานเริ่มต้นของระบบ เช่น ค่าวันและเวลาของระบบ, กำหนดรหัสผ่านเพื่อเข้าเครื่อง, กำหนดลำดับอุปกรณ์ในการบู๊ตระบบเป็นต้น ซึ่งค่าต่าง ๆ เหล่านี้จะส่งผลโดยตรงต่อการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา

4.2  ขั้นตอนการตรวจสอบระบบของ BIOS(Basic Input/Output System)
CMOS (Complementary Metal Oxide Semiconductor)
ขั้นตอนการทำงานของ BIOS
ขั้นที่ 1 เมื่อเปิดเครื่อง BIOS จะตรวจสอบอุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็นต่อการใช้งาน เช่น คีบอร์ด, ดิสก์ไดรฟ์, จอภาพ, หน่วยความจำ ฯลฯ หากมีอุปกรณ์ใดอุปกรณ์หนึ่งทำงานไม่ถูกต้อง จะแจ้งข้อผิดพลาดให้ทราบทั้งในลักษณะข้อความ (หากจอภาพทำงานได้) และเสียง beep หากจอภาพทำงานไม่ได้
ขั้นที่ 2 โหลดค่ากำหนดเกี่ยวกับอุปกรณ์ต่างๆขึ้นมาใช้งาน โดยค่าต่างๆเหล่านี้จะถูกเก็บไว้ใน CMOS ซึ่งผู้ใช้สามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยผ่าน SETUP
ขั้นที่ 3 โหลดระบบปฏิบัติการที่ติดตั้งไว้ในดิสก์ขึ้นมาทำงาน
ขั้นที่ 4 เมื่อระบบปฏิบัติการเริ่มทำงาน นั่นคือคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นจะอยู่ในสภาพที่พร้อมสำหรับการใช้งานแล้ว ส่วน BIOS จะทำหน้าที่ให้บริการต่างๆต่อระบบการปฏิบัติการอยู่เบื้องหลัง เช่น การอ่าน-เขียนข้อมูลจากดิสก์, เปิดจอภาพเมื่อผู้ใช้ไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานานๆ ฯลฯ
ขั้นที่ 5 มื่อต้องการปิดเครื่อง BIOS จะปิดการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆทั้งหมดรวมถึงตัดกระแสไฟที่จ่ายให้ power supply ด้วย ค่ากำหนดต่างๆที่เก็บไว้ใน CMOS จะไม่หายไป เมื่อผู้ใช้เปิดเครื่องขึ้นมาใหม่
เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ BIOS จะเข้าสู่ขั้นตอนที่เรียกว่า POST (Power-On Self Test) ซึ่งเป็นการตรวจ สอบอุปกรณ์ต่างๆที่มีในคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นเอง สาเหตุที่ต้อง ตรวจสอบก่อนก็เพราะ คอมพิวเตอร์แต่ละ เครื่องจะมี อุปกรณ์ไม่เหมือนกัน อีกทั้งผู้ใช้ยังสามารถเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์เหล่านี้ได้โดยอิสระอีกด้วย ดังนั้นย่อมเป็นการดี ที่จะมาตรวจ สอบกันก่อนเริ่มต้นทำงาน ในกรณีที่เจอข้อผิดพลาด ก็บังสามารถรายงานให้ผู้ใช้ทราบ และแก้ไขได้อย่างถูกต้อง

ขั้นตอนการทำงานของ POST

การ POST คือการทำงานของ BIOS ขณะเริ่มต้นระบบ ซึ่งพอสรุปขั้นตอนได้ดังนี้
ขั้นที่ 1 แสดงข้อความเริ่มต้นของการ์ดแสดงผล ซึ่งปกติจะขึ้นอยู่กับชนิดของการ์ดแสดงผลที่ติดตั้งอยู่ใน คอมพิวเตอร์นั้นๆ โดยอาจแสดงชื่อบริษัท-โลโก้ของผู้ผลิต, ชื่อรุ่น, ขนาดของหน่วยความจำ ฯลฯ หรือในบางรุ่น อาจไม่แสดง ข้อความ ใดๆในขั้นตอนนี้เลยก็ได้
ขั้นที่ 2 แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับ BIOS รวมถึงหมายเลขอ้างอิงสำหรับผู้ผลิตเมนบอร์ดและข้อความอื่นๆ จากภาพที่ 2-2 เป็น BIOS ของ Award บนเมนบอร์ดซึ่งใช้ชิปเซ็ต Intel 430HX
ขั้นที่ 3 ตรวจสอบและนับจำนวนหน่ายความจำ รวมทั้งเริ่มการทำงานของอุปกรณ์ประเภทดิสก์ไดรฟ์
ขั้นที่ 4 เมื่อสิ้นสุดการทำงานของ POST แล้ว บนหน้าจอจะแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์พื้นฐานทั้งหมด จากนั้นจึง โหลดระบบปฏิบัติการ จากดิสก์ที่กำหนด (ผ่านทาง SETUP) มาทำงานต่อไป

การ Set Bios
โดยปกติแล้ว เราไม่จำเป็นต้องทำการเปลี่ยนแปลงค่าต่าง ๆ ใน BIOS บ่อยนัก ยกเว้นเมื่อเรา ต้องการเปลี่ยนแปลง การตั้งค่าต่าง ๆ หรือเมื่อมีการเปลี่ยน อุปกรณ์ใหม่ ๆ เช่น CPU, RAM หรือ Hard Disk เป็นต้น

การเข้าสู่ BIOS Setup Mode
สำหรับวิธีการที่จะเข้าไปตั้งค่าต่าง ๆ ใน BIOS ได้นั้น จะขึ้นอยู่กับระบบของ
แต่ละเครื่องด้วย โดยปกติเมื่อเราทำการเปิดสวิทช์ไฟของเครื่องคอมพิวเตอร์ BIOS
ก็จะเริ่มทำงานโดยทำการทดสอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ก่อนที่จะเรียกใช้งานระบบ DOS
จากแผ่น Floppy Disk หรือ Hard Disk ในช่วงนี้จะเป็นช่วงที่เราสามารถเข้า
ไปทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าต่าง ๆ ใน BIOS ได้โดยกด Key ต่าง ๆ
เช่น DEL, ESC CTRL-ESC, CTRL-ALT-ESC ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละเครื่อง
จะตั้งไว้อย่างไร ส่วนใหญ่ จะมีข้อความบอกเช่น 'Press DEL Key to Enter
BIOS Setup' เป็นต้น

วิธีการ Clear/Reset Password ของ BIOS
โดยปกติแล้ว หากคุณใช้เครื่องคอมพิวเตอร์คนเดียว ก็คงไม่มีความจำเป็นต้องตั้ง Password สำหรับ
เข้าไป Setup BIOS หรือเปิดเครื่อง แต่ถ้าหากได้เคยตั้งไว้แล้วลืม หรือได้เมนบอร์ดมาโดยที่มีการตั้ง
Password ไว้และไม่รู้ว่าใช้ Password อะไร ก็มีวิธีการที่จะ Reset หรือ Clere Password
ซึ่งอาจจะต้องลองหลาย ๆ วิธีดูนะครับเท่าที่ผมได้รวบรวมมาดังนี้

1. ลองใช้ Password แบบ Case Sensitive คือแบบที่น่าจะเป็น
2. ทำการ Reset โดยการ Clear CMOS ดังนี้
• มองหา jumper สำหรับ Reset CMOS ก่อนโดยดูจากคู่มือ หรืออาจจะมองหา jumper ใกล้ ๆ กับแบตเตอรี่ของ CMOS ก็ได้ ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็น jumper 3 ขา
• วิธีการ Reset คือทำการ jump ให้ตรงข้ามกับปกติ คือถ้าหากเดิมมีการ jump อยู่ที่ 1-2 ก็เปลี่ยนมาเป็น 2-3 หรือถ้าปกติ jump อยู่ที่ 2-3 อยู่แล้วก็เปลี่ยนเป็น 1-2
• จากนั้นเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ทิ้งไว้สัก 5-10 วินาที ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
• เปลี่ยน jumper กลับมาที่เดิม Password จะถูก Reset

3. ทำการถอดแบตเตอรี่ของ CMOS ออก
ถ้าหากไม่สามารถหา jumper สำหรับ Reset CMOS ได้อาจจะมีอีกวิธี คือทำการถอดแบตเตอรี่ของ
CMOS ออกสัก 5 นาทีแล้วก็ใส่เข้าไปใหม่ จะเป็นการตั้งค่าทุกอย่างของ BIOS กลับไปเป็น Default ได้
แต่เมนบอร์ดบางรุ่น จะยังมี Password อยู่โดยจะเป็น Default Password ตามด้านบนนะครับ
หลังจากใส่แบตเตอรี่แล้วก็ถ้ายังถาม Password อีกให้ลองใส่ Default Password ข้างบนดู

การ Set BIOS

สำหรับตัวอย่างต่อไปนี้นำมาให้ดูแบบทั่ว ๆ ไปของ BIOS ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะคล้าย ๆ กัน เริ่มจากหลังจากที่กด DEL หรือ Key อื่น ๆ ขณะเปิดเครื่องเพื่อเข้าสู่ BIOS Setup Mode โดยปกติแล้ว ถ้าหากเป็นการตั้งค่าครั้งแรก หลังจากที่ทำการ
Reset CMOS แล้ว ก็เลือกที่เมนู Load BIOS Default Setup หรือ Load BIOS
Optimal-performance เพื่อเลือกการตั้งค่าแบบกลาง ๆ ของอุปกรณ์ทั่วไปก่อน
จากนั้นจึงมาทำการเลือกแก้ไขเปลี่ยนแปลงแต่ละค่า ตามเมนูต่อไปนี้เลยครับ


Standard CMOS Setup

Date และ Time ใส่ วันที่ และ เวลา ปัจจุบัน
Hard Disk กำหนดขนาดของ HDD (Hard Disk) ว่ามีขนาดเท่าไร โดยเลือกตั้งค่าเอง แบบ User, แบบอัตโนมัติ Auto หรือไม่ได้ติดตั้งก็เลือกที่ None
Primary / Master อุปกรณ์ที่ต่อกับ IDE แรก แบบ Master (1 IDE จะต่อ HDD หรือ CD-ROM ได้ 2 ตัว)
Primary / Slave อุปกรณ์ที่ต่อกับ IDE แรก แบบ Slave
Secondary / Master อุปกรณ์ที่ต่อกับ IDE ที่สอง แบบ Master
Secondary / Slave อุปกรณ์ที่ต่อกับ IDE ที่สอง แบบ Slave
ซึ่งจะต้องกำหนด Cyls (cylinders) Heads, Sectors และ Mode สำหรับ Mode มีดังนี้
- Auto BIOS จะทำการตรวจสอบและตั้ง Mode ของ HDD อัตโนมัติ
- Normal สำหรับ HDD ที่มี clys,heads,sectors ไม่เกิน 1024,16,63 หรือขนาดไม่เกิน 528M.
- Large สำหรับ HDD ที่มี cyls มากกว่า 1024 แต่ไม่ support LBA Mode
- LBA Logical Block Addressing สำหรับ HDD ใหม่ ๆ จะมีการส่งข้อมูลที่เร็วกว่า
(สำหรับ HDD ถ้าหากทราบค่าที่แน่นอนให้ใส่เป็น User แต่ถ้าไม่แน่ใจ ให้ตั้ง Auto ไว้)
Drive A: B: ชนิดของ Diskette Drives ที่ติดตั้งใช้งาน 360K, 720K, 1.2M หรือ 1.44M
Video ชนิดของจอแสดงภาพ (ปกติจะเป็น EGA/VGA)
Halt On กำหนดการ Stop หากพบ Error ขณะที่ POST (Power-On Seft Test)
- All errors การ POST จะหยุดและแสดง prompts ให้เลือกการทำงานต่อไปทุก Error
- All, But Key การ POST จะไม่หยุดกรณีของการเกิด Keyboard Error
- All, But Disk การ POST จะไม่หยุดกรณีของการเกิด Diskette Drive Error
- All, But Disk/Key การ POST จะไม่หยุดกรณีของการเกิด Keyboard Error หรือ Diskette
Base Memory โดยปกติจะเป็น 640K สำหรับ DOS
Extended คือ Memory ในส่วนที่สูงกว่า 1M ขึ้นไป
Other Memory หมายถึงส่วนของระหว่าง 640K ถึง 1M



BIOS Features Setup

Virus Warning การเตือนเมื่อมีการเขียนข้อมูลทับ Boot Record ของ HDD [Enabled]
CPU Int / Ext cache การใช้งาน CPU Internal / External Cache [Enabled]
Quick Power On Seft Test การทำ POST แบบเร็ว [Enabled]
Boot Sequence เลือกลำดับของการบูทเช่นจาก C:, A: หรือ IDE-0, IDE-1 [C: A:]
Swap Floppy Disk กำหนดการสลับตำแหน่ง Drive A: เป็น Drive B: [Disabled]
Boot Up Floppy Seek การตรวจสอบชนิดของ Disk Drive ว่าเป็นแบบใด [Disabled]
Boot Up NumLock Status กำหนดการทำงานของ Key NumLock หลังจากเปิดเครื่อง [Disabled]
Boot Up System Speed กำหนดความเร็ว CPU หลังจากเปิดเครื่อง [High]
Gate A20 Option การเข้าถึง Address memory ส่วนที่สูงกว่า 1M [Fast]
Typematic Rate Setting กำหนดความเร็วของการกด Key [Enabled]
Typematic Rate (Chars/Sec) กำหนดความเร็วของการกด Key [6]
Typematic Delay (Msec) กำหนดค่า delay ของการกด Key [250]
Security Option กำหนดการตั้งรหัสผ่านของการ Setup BIOS หรือ System [Setup]
PS/2 Mouse Control กำหนดการใช้งาน PS/2 Mouse [Disabled]
PCI/VGA Palette Snoop แก้ปัญหาการเพี้ยนของสีเมื่อใช้การ์ดวีดีโออื่น ๆ ร่วมด้วย [Disabled]
Assign IRQ for VGA กำหนดการใช้ IRQ ให้กับการ์ดจอ [Enabled]
OS Select for DRAM > 64M การกำหนดหน่วยความจำสำหรับ OS2 [Non-OS]
HDD S.M.A.R.T capability Self-Monitering Analysis and Reporting Technology [Enabled]
Video BIOS Shadow กำหนดให้ทำ Shadow กับ ROM จากการ์ดแสดงผล C0000-C4000 [Enabled]
Adapter ROM กำหนดให้ทำ Shadow กับ ROM จากการ์ดที่เสียบเพิ่มเติม
C8000 ใช้กับการ์ดแสดงผลชนิด MDA (จอเขียว)
CC000 ใช้กับการ์ด controller บางประเภท [Disabled]
D0000 ใช้กับการ์ด LAN [ถ้าไม่ใช้ตั้ง Disabled]
D4000 ใช้กับ controller สำหรับ Disk Drive ชนิดพิเศษ [Disabled]
D8000 ตั้ง [Disable]
DC000 ตั้ง [Disable]
E0000 ตั้ง [Disable]
E4000 ตั้ง [Disable]
E8000 ตั้ง [Disable]
EC000 ใช้กับการ์ด controller ชนิด SCSI [หากไม่ได้ใช้ตั้ง Disable]
System ROM การทำ Shadow กับ ROM ของ BIOS ที่ F000 [Enabled]

Chipset Features Setup

Auto Configuration คือให้ BIOS จัดการค่าต่างๆโดยอัตโนมัติซึ่งจะเป็นค่ากลาง ๆ
Hidden Refresh การเติมประจุไฟของ DRAM [Enabled]
Slow Refresh ให้ DRAM ลดความถี่ในการเติมประจุไฟลง 2 - 4 เท่า [Enabled ถ้าไม่มีปัญหา]
Concurrent Refresh การอ่าน-เขียนข้อมูล ได้พร้อมๆกับการเติมประจุไฟใน DRAM [Enabled]
Burst Refresh การเติมประจุไฟลง DRAM ได้หลายๆ รอบในการทำงานครั้งเดียว [Enabled]
DRAM Brust at 4 Refresh จำนวนการ Burst Refresh เป็น 4 รอบในการทำงาน 1ครั้ง [Enabled]
Staggered Refresh การเติมประจุล่วงหน้าใน DRAM ใน Bank ถัดไปด้วย [Enabled]
Refresh RAS Active Time ให้ทดลองกำหนดค่าน้อยที่สุดเท่าที่เครื่องจะสามารถทำงานได้
AT Cycle Wait State เวลาที่รอให้การ์ด ISA พร้อม ให้ตั้งค่าที่น้อยสุดเท่าที่เครื่องทำงานได้
16-Bit Memory, I/O Wait State เวลาที่ซีพียูต้องรอระหว่างรอบการทำงาน ตั้งน้อยที่สุดที่ทำงานได้
8-Bit Memory, I/O Wait State เวลาที่ซีพียูต้องรอระหว่างรอบการทำงาน ให้ตั้งน้อยสุดที่ทำงานได้
DMA Clock Source กำหนดความเร็วของอุปกรณ์ DMA โดยมีค่าปกติคือ 5 MHz
Memory Remapping หากเปิดการทำงานนี้ไว้จะทำ Shadows กับ BIOS ใดๆ ไม่ได้ [Disable]
Cache Read Hit Burst หรือ
SRAM Read Wait State ระยะพักรอเมื่ออ่านข้อมูลลงใน L1 Cache ให้ตั้งน้อยที่สุดเท่าที่ทำงานได้
Cache Write Hit Burst หรือ
SRAM Write Wait State ระยะพักรอเมื่ออ่านข้อมูลลงใน L1 Cache ให้ตั้งน้อยที่สุดเท่าที่ทำงานได้
Fast Cache Read / Write ให้แคชทำงานโหมดความเร็วสูง จะมีผลเมื่อแคชมีขนาด 64 KB หรือ 256 KB
Tag Ram Includes Ditry ให้แคชทำงานในโหมดเขียนทับโดยไม่ต้องย้าย/ลบข้อมูลเดิมออกก่อน
หากมี Ram น้อยกว่า 256 MB ควรใช้ Dirty Bit
Non-Cacheable Block-1 Size กำหนดขนาดหน่วยความจำที่ห้ามทำแคช [OK หรือ Disabled]
RAS to CAS Delay Time ค่าหน่วงเวลาก่อนที่จะสลับการทำงาน RAS-CAS ตั้งค่าน้อยที่สุดเท่าที่ทำงานได้
CAS Before RAS การสลับลำดับการทำงานระหว่าง RAS และ CAS
CAS Width in Read Cycle กำหนดค่าหน่วงเวลาก่อนที่ซีพียูจะเริ่มอ่านข้อมูลใน DRAM ตั้งน้อยที่สุดที่ทำงานได้
Interleave Mode ให้ซีพียูอ่าน - เขียนข้อมูลจาก DRAM ในโหมด Interleave
Fast Page Mode DRAM ให้หน่วยความจำทำงานแบบ FPM โดยไม่ต้องอาศัย RAS และ CAS ซึ่งจะเร็วกว่า
SDRAM CAS Latency Time หรือ
SDRAM Cycle Length ระยะรอบการทำงานของ CAS latency ใน SDRAM ตั้งค่าน้อยที่สุด
หรือใช้ค่า 2 กับ RAM ชนิด PC100 และใช้ค่า 3 กับ RAM ชนิด PC66/83
Read Around Write กำหนดให้ซีพียูอ่าน - เขียนข้อมูลจากหน่วยความจำได้ในคราวเดียวกัน [Enabled]
DRAM Data Integrity Mode เลือก Non-ECC หรือ ECC ตามขนิดของ SDRAM System BIOS
Cacheable การทำแคชของ System BIOS ROM #F0000-FFFFF [Enabled]
Video BIOS Cacheable การทำแคชของ Video BIOS ROM [Enabled]
Video RAM Cacheable การทำแคชของ Video RAM #A0000-AFFFF [Enabled ถ้าไม่มีปัญหา]
Memory Hole at 15M-16M การจองพื้นที่สำหรับ ISA Adapter ROM [Enabled]
Passive Release กำหนด CPU to PCI bus accesses ช่วง passive release [Enabled]
Delayed Transaction เลือก Enable สำหรับ PCI version 2.1
AGP Aperture Size (MB) กำหนดขนาดของ AGP Aperture กำหนดเป็นครึ่งหนึ่งของ RAM ทั้งหมด

Power Management

Max Saving กำหนดการประหยัดพลังงานแบบ สูงสุด
User Define กำหนดการประหยัดพลังงานแบบ ตั้งค่าเอง
Min Saving กำหนดการประหยัดพลังงานแบบ ต่ำสุด
PM Control by APM กำหนดให้ควบคุมการประหยัดพลังงานผ่านทางซอฟท์แวร์
APM Video Off Method กำหนดวิธีการปิดจอภาพเมื่อเข้าสู่โหมดประหยัดพลังงาน
V/H SYNC + Blank จะปิดการทำงาน V/H SYNC และดับจอภาพด้วย Blank Screen
DPMS สำหรับการ์ดแสดงผลและจอภาพที่สนับสนุนโหมด DPMS
Blank Screen จะทำการแสดงหน้าจอว่าง ๆ เมื่อประหยัดพลังงาน สำหรับจอรุ่นเก่า ๆ
Video Off After ให้ปิดจอภาพเมื่อเข้าสู่โหมดประหยัดพลังงานแบบ Stanby หรือ Suspend
Standby Mode กำหนดระยะเวลาเมื่อพบว่าไม่มีการใช้งาน จะหยุดทำงานของอุปกรณ์บางส่วน
Supend Mode จะตัดการทำงานบางส่วนคล้าย Standby Mode แต่หยุดอุปกรณ์ที่มากกว่า
HDD Power Down กำหนดระยะเวลาก่อนที่ BIOS จะหยุดการทำงานของ HDD
Resume by Ring เมื่อ Enabled สามารถสั่งให้ทำงานจาก Soft Off Mode ได้
Resume by Alarm เมื่อ Enabled สามารถตั้งเวลาทำงานจาก Suspend Mode ได้
Wake Up On LAN เมื่อ Enabled สามารถสั่งให้ทำงานจาก Soft Off Mode ได้

Integrated Peripherals

IDE HDD BLOCKS MODE ให้ HDD อ่าน-เขียนข้อมูลได้ครั้งละหลาย Sector พร้อมกัน [Enabled]
IDE PIO Mode... กำหนดการทำงานแบบ Programe Input/Output [ตั้งสูงสุดหรือ Auto]
IDE UDMA... กำหนดการทำงานแบบ DMA หรือ UDMA [Enabled หรือ Auto]
On-Chip PCI IDE กำหนดการใช้ช่องเสียบ HDD IDE ที่อยู่บนเมนบอร์ด [Enabled]
USB Keyboard Support กำหนดให้ใช้ Keyboard แบบ USB [Enabled]
Onboard FDC Controller กำหนดให้ใช้ช่องเสียบ Disk Drive ที่อยู่บนเมนบอร์ด [Enabled]
Onboard Serial Port 1 กำหนดค่าแอดเดรสและ IRQ ให้ COM1 ค่าปกติคือ 3F8/IRQ4
Onboard Serial Port 2 กำหนดค่าแอดเดรสและ IRQ ให้ COM2 ค่าปกติคือ 2F8/IRQ3
Parallel Port Mode กำหนดโหมดการทำงานของพอร์ตขนานได้ใน 3 แบบ [EPP&ECP]
SPP (Standard Parallel Port) คือโหมดมาตรฐานเหมาะแก่เครื่องพิมพ์รุ่นเก่าๆ
EPP (Enhanced Parallel Port) คือโหมด 2 ทิศทางเหมาะแก่เครื่องพิมพ์รุ่นใหม่
ECP (Extended Capabilities Port) คือโหมดความเร็วสูง เมื่อต่อพ่วงกับ Scanner, Laplink ฯลฯ
ECP MODE USE DMA คือกำหนด DMA สำหรับ Port ขนานแบบ ECP ซึ่งค่าปกติคือ 3
IDE HDD Auto Detection
สำหรับค้นหาฮาร์ดดิสก์แบบอัตโนมัติ โดยจะค้นหา Primary Master , Primary Slave , Secondary Master , Secondary Slave ตามลำดับ โดยให้เราตอบ Y ในแต่ละขั้นตอนที่ต้องการ ถ้าในขั้นตอนนี้ไม่สามารถ ค้นหา ฮาร์ดดิสก์ที่เราติดตั้งไว้ได้ ต้องตรวจสอบการต่อฮาร์ดดิสก์ให้ถูกต้องอีกครั้ง

การตั้งค่าอื่น ๆ
Load BIOS Default Setup
เมื่อกดเลือกที่นี่ BIOS จะทำการตั้งค่าต่าง ๆ ให้เป็นแบบกลาง ๆ สำหรับอุปกรณ์ทั่ว ๆ ไป หรือเป็นการตั้งค่าแบบ Factory Setup ก็ได้
Load BIOS Optimize Setup
เมื่อกดเลือกที่นี่ BIOS จะทำการตั้งค่าต่าง ๆ ของอุปกรณ์ ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด
Password Setting
ใช้สำหรับการตั้ง Password เมื่อต้องการจะเข้าไปเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าต่าง ๆ ใน BIOS หรือเมื่อต้องการจะเปิด เครื่อง โดยปกติเมื่อใส่ Password ระบบจะให้ใส่ Confirm ซ้ำ 2 รอบเพื่อป้องกันการใส่ผิดพลาด (ไม่ใส่อะไรเลย คือการยกเลิก password)
HDD Low Level Format
เป็นเมนูสำหรับทำ Low Level Format ของ Hard Disk ซึ่งใช้สำหรับทำการ Format Hard Disk แบบระดับต่ำสุด ซึ่งถ้าหากไม่มีปัญหาอะไรกับ Hard Disk ก็ไม่จำเป็นต้องทำ
Exit with Save Setting หรือ Exit without Save Setting
เมื่อทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลการตั้งค่าต่าง ๆ ของ BIOS แล้วต้องทำการ Save เก็บไว้ด้วยนะครับ ส่วนใหญ่ เมื่อทำการ Save แล้วจะบูทเครื่องใหม่ ค่าต่าง ๆ ที่ตั้งไว้จึงจะใช้งานได้
CPU Setup
นอกจากนี้ ในเมนบอร์ดรุ่นใหม่ ๆ ที่เป็นแบบ Jumper Free (ไม่ใช้ Jumper แต่จะใช้เมนูใน BIOS สำหรับตั้งค่า ต่าง ๆ ) จะสามารถตั้งค่าของความเร็ว CPU, ค่า multiple หรือ FSB, ค่าไฟ Vcore และอื่น ๆ อีกแล้วแต่รุ่นของ เมนบอร์ดนั้น ๆ
การ Flash BIOS ก็ คื อการ Update เปลี่ยนแปลงข้อมูลหรือซอฟท์แวร์ที่บรรจุอยู่ใน BIOS ROM Chip
ซึ่งจะเป็นซอฟท์แวร์ขนาดเล็ก ๆ ที่จำเป็นสำหรับการบูทเครื่องคอมพิวเตอร์ การที่เราทำการ Update BIOS
ก็คือการ Update ซอฟท์แวร์นี้นั่นเอง เหตุผลที่ต้องมีการ Update BIOS มีดังนี้
- เพื่อให้ BIOS นั้นสามารถรองรับการทำงานของอุปกรณ์ใหม่ ๆ ได้
- เพิ่มเติมและแก้ไขความสามารถต่าง ๆ ให้มากขึ้นเช่นการ Auto Detect อุปกรณ์ต่าง ๆ
- เพิ่มการ Support กับ CPU ใหม่ ๆ ที่เพิ่งจะเกิดขึ้นมาด้วย
- เพิ่มการรองรับกับ Hard Disk ขนาดใหญ่ ๆ
- รองรับหรือแก้ปัญหา Y2K
- แก้ไขปัญหาบางอย่างที่เกิดขึ้นกับเมนบอร์ด
- ในบางครั้ง ก็อาจจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความเสถียรภาพของระบบโดยรวมได้
- และอื่น ๆ อีกมากมาย

รายละเอียดของ BIOS แต่ละ Version คงต้องหาข้อมูลจากเวปไซต์ของผู้ผลิตเมนบอร์ดแต่ละยี่ห้อนะครับ
ว่าจะมีอะไรไหม่ ๆ บ้าง

จำเป็นมากแค่ไหน ที่ต้องทำการ Flash BIOS
โดยทั่วไปแล้ว หากคุณสามารถใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ปกติไม่มีปัญหาอะไรก็คงไม่มี
ความจำเป็นที่จะต้องทำการ Update BIOS นะครับแต่ถ้าหากวันใดที่ต้องการเพิ่มอุปกรณ์ใหม่ ๆ
เข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ เช่นเปลี่ยน CPU หรือ Hard Disk ใหม่ และเกิดปัญหา
หรือไม่สามารถใช้งานได้ ก็อาจจะมีความจำเป็นที่จะต้องทำการ Update BIOS นะครับ
ดังนั้น คงจะขึ้นอยู่กับความจำเป็นต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ว่าต้องการที่จะแก้ไขอะไรใน BIOS
หรือไม่ เพราะจะว่าไปแล้ว การ Update BIOS ไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไรนัก แต่หากเกิดการผิดพลาด
ระหว่างการ Flash BIOS ก็อันตรายมาก ถึงขนาดไม่สามารถบูทเครื่องได้เลยเชียวนะครับ

จะสามารถหา BIOS ใหม่ ๆ ได้จากที่ไหน
แน่นอนครับ ก็ต้องที่เวปไซต์ของผู้ผลิตเมนบอร์ดของแต่ละยี่ห้อนั้น ๆ และจะต้องเป็น BIOS
ของเมนบอร์ดรุ่นเดียวกันด้วยนะครับ ไม่ขอแนะนำให้นำ BIOS ของเมนบอร์ดรุ่นอื่น ๆ หรือ
ที่ไม่แน่ใจมาทำการ Flash เด็ดขาด ส่วนใหญ่จะไม่สามารถใช้งานได้ หรืออาจจะไม่สามารถ
บูทเครื่องได้เลยก็ได้ อีกที่หนึ่งสำหรับ Award BIOS นะครับ ถ้าหากหาไม่ได้และต้องการ
Flash จริง ๆ ก็ลองเข้าไปหาดูที่ http://www.award.com.tw/download นะครับจะมี Image
ของ BIOS อยู่หลายรุ่น

การเตรียมอุปกรณ์ก่อนทำการ Flash BIOS
สิ่งที่ต้องเตรียมสำหรับการ Flash BIOS มีดังนี้
• เตรียมแผ่น Floppy Disk สำหรับ Boot เครื่องเช่น Windows Start Up Disk หรือแผ่น Boot
DOS เพื่อใช้สำหรับ Boot เครื่องเข้า DOS Prompt อย่างเดียว (อาจจะทำขึ้นมาเองง่าย ๆ โดยใส่
แผ่นดิสก์แล้วสั่ง format a: /s ก็ได้)
• เตรียมโปรแกรมสำหรับ Flash BIOS โดยที่จะสามารถหาได้จากเวปไซต์ของผู้ผลิตเมนบอร์ด
นั้น ๆ นะครับ ส่วนใหญ่จะเป็นไฟล์เล็ก ๆ เช่น AWDFLASH.EXE หรือหากเวปไซต์นั้น
แนะนำให้ใช้โปรแกรมตัวอื่น ๆ ก็ขอให้ใช้ตามนั้นนะครับ
• เตรียม Image BIOS โดยที่จะสามารถหาได้จากเวปไซต์ของผู้ผลิตเมนบอร์ดนั้น ๆ นะครับ
รูปแบบทั่วไปส่วนใหญ่ จะเป็นไฟล์นามสกุล .BIN นะครับ อันนี้ขอเน้นอีกครั้งว่า ต้องเป็น
Image BIOS สำหรับเมนบอร์ดรุ่นเดียวกันเท่านั้นนะครับ
ขั้นตอนการทำ Flash BIOS
หลังจากที่ตัดสินใจจะทำการ Update BIOS แน่นอนแล้ว และเตรียมอุปกรณ์หรือซอฟท์แวร์ต่าง ๆ
พร้อมแล้ว ก็เริ่มต้นขั้นตอนตามนี้
• เปิดเครื่อง และเข้าไปทำการ BIOS Setup โดยกด DEL ระหว่างที่เครื่องกำลังทดสอบ RAM อยู่
ทำการตั้งค่าของ System BIOS Cacheable Option ใน BIOS ให้เป็น Disabled เสียก่อน
ที่จะทำการ Flash BIOS ใหม่
• ให้เปิดคู่มือของเมนบอร์ดเพื่อหาตำแหน่งของ jumper สำหรับการ Flash BIOS (หากไม่มีคู่มือ
ลองมองหาดู jumper ใกล้ ๆ กับ CMOS นะครับ ส่วนใหญ่จะเป็น jumper 3 ขาและมีการพิมพ์
กำกับการใช้งานอยู่บนบอร์ด) ทำการเปลี่ยน jumper ไปที่ตำแหน่ง Flash นะครับ ซึ่งเท่าที่ทราบมา
เมนบอร์ดบางรุ่นอาจจะไม่มีก็ได้ ให้ลองหาดูก่อน
• Boot เครื่องใหม่ โดยทำการ Boot แบบ Clean Boot ครับ คือให้กด F8 ขณะที่กำลังจะเข้าสู่หน้าจอ
Start Windows จะเข้าหน้าจอของ Menu แล้วจากนั้นเลือก Save Mode MS DOS Prompt
แล้วจึงทำในขั้นตอนต่อไป หรือจะให้ดีควรจะ Boot เครื่องจากแผ่นดิสก์ที่มีแต่เพียง DOS อย่างเดียว
โดยไม่มีการ Load Driver อะไรต่าง ๆ เลย
• สั่งหรือเรียกโปรแกรมสำหรับ Flash เช่น AWDFLASH หรือโปรแกรมสำหรับ Flash BIOS ที่
Download มา ท โดยส่วนใหญ่ตรงนี้ โปรแกรมจะถามให้ทำการ Save BIOS Version เก่าที่มีอยู่
ในเครื่องเก็บไว้ก่อน ขอแนะนำให้ทำการ Save BIOS ใส่แผ่นดิสก์ไว้นะครับ เพื่อความไม่ประมาท
หรือถ้าหากเกิดการผิดพลาดขึ้น อาจจะยังพอแก้ไขได้
• ใส่ชื่อของ file ที่เป็น Image BIOS ที่ต้องการจะ Flash จากนั้นทำการ Flash ตามขั้นตอนคำแนะนำ
ของโปรแกรมนะครับ
• การ Flash จะใช้เวลาไม่นานมากนัก ประมาณไม่เกิน 1 นาที ระหว่างนี้ก็ต้องระวัง ห้ามปิดเครื่องหรือทำการ Reset โดยเด็ดขาดนะครับ ไม่เช่นนั้น เมนบอร์ดคุณอาจจะไม่สามารถ Boot ได้เลยก็ได้
(ต้องระวังเรื่องไฟฟ้าดับด้วยนะครับ พยายามอย่าทำขณะที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟฟ้าดับเป็นอันขาด)
• หลังจากที่ Flash เรียบร้อยแล้ว ให้ปิดเครื่องสักประมาณ 15 วินาที หากได้ทำการเปลี่ยน jumper
สำหรับการ Flash ไว้ตั้งแต่ต้น ก็ทำการเปลี่ยนกลับไปเป็นเหมือนเดิมด้วยนะครับ
• บางครั้ง ต้องทำการ Clear CMOS jumper (คนละอันกับ Flash jumper นะครับ) ก่อนที่จะเปิด
เครื่องใหม่ด้วยครับ
• เปิดเครื่องใหม่ เข้าไปทำการ Setup BIOS โดยกด DEL ขั้นตอนแรกคือเลือกที่เมนู Load Default
Setup หรือ Load BIOS Setup ก่อน จึงตั้งค่าต่าง ๆ ตามต้องการ เลือก Save ค่าที่ตั้งไว้ ก็จบขั้นตอน
การ Flash BIOS ครับ
• สำหรับ Award BIOS หากว่าในขณะที่ทำการ Flash BIOS ใหม่นั้น เกิด Error Message มาว่า
Insufficient Memory ก็ไม่ต้องตกใจนะครับ เพราะ มันก็จะยังไม่ได้ทำการ Flash BIOS ให้ใหม่
ดังนั้น ก็ให้คุณ Boot เครื่องใหม่ แล้วเข้าไป set ใน BIOS ตรง Chipset Feature Setup ให้เลือก
Video BIOS Cacheable เป็น Disable ซะ แล้ว Save และ Exit เพื่อ Boot ใหม่ Boot เข้า
Clean Boot แล้วทำการ Flash ใหม่ ซึ่งก็ไม่น่าจะเกิดปัญหานี้อีกแล้ว จากนั้น เมื่อทำการเสร็จแล้ว ก็
Reboot หรือ ปิดเครื่องไว้สักพัก แล้วเปิดใหม่ และเมื่อ Boot เข้ามาใหม่แล้ว ให้เข้าไปแก้ไขที่
Chipset Feature Setup ตรง Video BIOS Cacheable เป็น Enabled เหมือนเดิมครับ
ข้อควรระวังสำหรับการ Flash BIOS
• ต้องใช้ Image BIOS ที่เป็นรุ่นเดียวกับเมนบอร์ดเท่านั้น
• ระวังไฟตก ไฟฟ้าดับ หรือเครื่องแฮงก์ ขณะทำการ Flash เพราะอาจจะทำให้ไม่สามารถ
Boot เครื่องได้เลย
• ให้ทำการ Save Image BIOS ของเดิมเก็บใส่แผ่นดิสก์ไว้ก่อนเสมอครับ
• ถ้ามีการเตือนว่า Image BIOS ที่กำลังจะ Flash นั้นไม่สามารถเข้ากันได้กับเครื่อง
เหนือเมนบอร์ดของคุณ ระวัง อย่าทำการ Flash โดยเด็ดขาด เพราะเป็นไปได้มากที่คุณ
ใช้ Image BIOS ผิดรุ่น ซึ่งอาจจะทำให้เครื่องคุณ Boot ไม่ขึ้นเลยก็ได้
หาก Flash BIOS ไปแล้ว Boot ไม่ขึ้นจะแก้ไขอะไรได้บ้าง
• การทำ Boot-Block BIOS
สำหรับเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆ โดยเฉพาะที่ใช้กับ Award BIOS
นั้นจะมี Boot-Block BIOS มาด้วย โดยจะเป็นส่วนของข้อมูลเล็กๆ ที่จะไม่มีการเขียนทับ
หรือ แก้ไขใดๆ ลงไปได้ แม้ว่าจะ Flash BIOS สักกี่ครั้งก็ตาม โดย Boot-Block BIOS นั้น
จะรู้จักแต่ Floppy Disk Drive และ Display Card แบบ ISA เท่านั้น! หากว่าใช้
Display Card เป็น PCI หรือ AGP ก็หมดหวังเลยครับ และ Boot-Block BIOS นี้
จะสามารถ Boot เครื่องได้ เฉพาะ Floppy Disk เท่านั้น ดังนั้น ก็เราก็สามารถเตรียม
Image BIOS และ ตัว โปรแกรม Flash ใส่ไว้ในแผ่น แล้ว พอ Boot เสร็จ ก็ ทำการ Flash
ซะใหม่ ก็ได้ หรือ จะเขียน autoexec.bat ให้ทำการ Flash อัตโนมัติ เลยก็ได้ครับ
• การทำ Hot Swapping
การแก้ไขวิธีนี้ มีหลักการคือ นำเอา Chip BIOS ที่มีปัญหาไปทำการ Flash
กับเมนบอร์ดของเครื่องที่ใช้งานได้ปกติ โดยทำขณะที่ยังเปิดเครื่องปกติอยู่ และถอด
Chip BIOS ของเครื่องนั้นออก นำเอา Chip BIOS ที่ของเราที่มีปัญหาใส่เข้าไปแล้ว
ทำการ Flash ใหม่ การแก้ไขวิธีนี้วุ่นวายไม่ใช่น้อยๆ และ ผมขอไม่รับผิดชอบนะครับ
กับความเสียหาย ที่เกิดขึ้นจากวิธีนี้ นะครับ เพราะมันค่อนข้างละเอียด และ ผิดพลาดได้
ง่ายๆ ... เพราะฉะนั้น ขอให้อยู่ในดุลยพินิจของตัวเองด้วยนะครับ สำหรับวิธีนี้
1. ให้ถอด Chip BIOS ที่มีปัญหาออกมา แล้วหาเมนบอร์ดรุ่นเดียวกัน Spec เดียวกัน ซึ่งไม่มีปัญหามาเพื่อใช้ในการ Boot โดยก่อนที่จะทำการ Flash ก็ให้เข้าไปใน BIOS เพื่อ Set System BIOS Cacheable ให้เป็น Enable ก่อนด้วย
2. Boot เครื่อง ด้วยเมนบอร์ดตัวที่ BIOS ไม่มีปัญหา และ Boot แบบ Clean ดังที่กล่าวมาแล้ว
3. ทำการแกะ Chip BIOS จากเมนบอร์ดออกโดยที่ยังเปิดเครื่องทิ้งไว้อยู่ ตรงนี้ ต้องใช้ความระมัดระวัง และ เสี่ยงเป็นอย่างมาก
4. ใส่ Chip BIOS ตัวที่มีปัญหาลงไปแทนที่ แล้วทำการ Flash BIOS ใหม่ จากนั้น ก็ Reboot หรือ ปิดเครื่อง
5. ถ้าไม่มีปัญหาใดๆ เจ้า BIOS ที่เคยมีปัญหา ก็จะกลับมาใช้งานได้ดังเดิมครับ

ข้อแนะนำเพิ่มเติมสำหรับใครที่คิดจะใช้วิธีการนี้คือ ก่อนที่จะเริ่มต้น ให้ทำการแกะ Chip BIOS
ออกมาจาก Socket ก่อนแล้วใส่ใหม่โดยวางแปะลงไป กดแต่เพียงเบา ๆ แต่ต้องแน่ใจว่าทุก ๆ ขาของ
Chip BIOS สัมผัสกับ Socket ดีนะครับ เมื่อถึงเวลาที่เปลี่ยน Chip BIOS โดยที่ยังต้องเปิดเครื่อง
อยู่นั้น จะช่วยให้สามารถแกะ Chip CMOS ออกมาได้ง่าย เพื่อทำการ Flash BIOS แบบ Hot Swapping
โดยที่ขณะที่จะทำการ Flash จะมีข้อความเตือนว่า BIOS นั้นไม่สามารถเข้ากับเครื่องหรือเมนบอร์ดได้ ก็กดยืนยันการทำการ Flash BIOS ต่อไปได้เลย

• สำหรับเมนบอร์ดของ Intel โดยเฉพาะ
1. เปลี่ยน Jumper ตรง Flash Recovery Jumper ให้ไปอยู่ตรง Recovery Mode
( อ่านจากคู่มือ และ สำหรับบางรุ่น ก็ไม่มี Jumper ตัวนี้นะครับ )
2. เอาแผ่น Bootable Upgrade Disk ใส่ไว้ที่ Drive A;
3. Boot เครื่อง โดยเครื่องจะทำงานตามปกติ แต่จะไม่มีการ Display อะไรออกที่หน้าจอ
( วิธีนี้ ก็คล้ายๆ กับ วิธีที่ Boot-Block BIOS เพียงแต่ ใช้สำหรับเมนบอร์ดของ Intel บางรุ่น
เท่านั้น ) โดยจะดูผลการ Boot หรือ การทำงานโดย สังเกตุ จากไฟ LED บนฝา CASE
และ/หรือ ฟังจากเสียง Beep
4. ระบบจะทำการกู้คืนข้อมูล BIOS ด้วยข้อมูลที่อยู่บน Disk ให้ สังเกตุ ที่ไฟของ Floppy Disk ถ้าไฟติดอยู่ และ ยังมีเสียงอ่านอยู่ ก็แสดงว่ากำลังทำงานอยู่ และถ้าดับเมื่อไร ก็แสดงว่าการ กู้คืนนั้น เสร็จสิ้นลงแล้ว
5. ปิดเครื่อง แล้วเปลี่ยน Jumper จากข้อแรกให้กลับอยู่ตำแหน่งเดิม จากนั้นก็เปิดเครื่องใหม่ ซึ่งก็น่าจะไม่มีปัญหาแล้ว



การแก้ไขเมื่อ Flash BIOS ล้มเหลว
หลังจาก Flash BIOS แล้ว ถ้ากระบวนการดำเนินการไปอย่างถูกต้อง คอมพิวเตอร์ก็จะทำงานได้อย่างถูกต้อง ไม่ มีปัญหาอย่างใด อย่างไรก็ตาม หลายครั้งพบว่าผลจากการ Flash BIOS ไม่ได้เป็นไปตามที่ คาดหวังทุกประการ บางครั้ง อาจ พบความผิดพลาดได้ เช่น ในกรณีของผู้ใช้งานที่เคย Flash BIOS ครั้งแรก อาจจะทำผิดพลาด โดยการ ปิดสวิทช์ไฟ ระหว่างกระบวนการ Erase , Re-program BIOS ซึ่งกรณีนี้จะทำให้ไบออสเสีย ใช้บู๊ตคอมพิวเตอร์ ไม่ได้ หรืออีกกรณี หนึ่งคือ มีความผิดพลาดในตัวโปรแกรมเอง เมื่อ Flash แล้วปรากฎว่าใช้งานไม่ได้อีกต่อไป อาการที่บ่งชี้ว่า ไบออสเสียก็คือ เมื่อเปิดสวิทช์แต่เครื่องไม่บู๊ต ไม่มีเสียง บี๊บ (POST = Power on self test) ไม่มีข้อความใด ปรากฎ บนจอภาพ ถ้าอาการดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากการ Flash BIOS ก็ให้ตั้งสมมุติฐานไว้ก่อนว่า เกิดปัญหาขึ้นจากการ Flash BIOS
สาเหตุที่ทำให้ไบออสนอกจากการ Flash ผิดแล้ว ยังเกิดได้จากไวรัสบางตัว เช่น W32.CIH.SPACEFILLER ซึ่งถูกตั้งเงื่อนไขให้ Flash BIOS ด้วยโปรแกรมขยะอีกด้วย

การแก้ไข
หลังจาก Flash BIOS แล้วเมื่อเปิดคอมพิวเตอร์แล้วไม่บูต ให้ปิดสวิทช์แล้วแกะไบออสออก ระหว่างการแกะให้ ระวัง เพราะตัว EEPROM สำหรับ BIOS นั้นมีหลายประเภท ประเภทที่เป็นตีนตะขาบเสียบบน Socket จะแกะง่ายกว่า แต่หากเป็นลักษณะคล้ายฝังตัวใน Socket แบบนั้นแกะลำบากมากกว่า
1. ให้แกะ BIOS จากเมนบอร์ดที่ดี หรือนำเอา BIOS ที่ดีอยู่แล้ว มาใส่แทน BIOS ที่เสียแทน
2. ให้เปิดเครื่องและบูตเครื่องตามปกติ สังเกตว่าคอมพิวเตอร์จะต้องบูตตามปกติ ถ้าอาการเสียนั้นเกิดจากไบออสเสีย แต่ถ้าไม่บูตอีก แสดงว่าไบออสไม่เสียแล้ว แต่เป็นเมนบอร์ดเสียแทน
3. ถ้าเครื่องก็บูตขึ้นมาแล้ว การทำงานของไบออสนั้นจะเหมือนกันกับสตาร์ตเตอร์ในวงจรของหลอดฟลูออเรสต์เซ็นต์ คือ เมื่อเปิดคอมพิวเตอร์ได้แล้ว BIOS ก็หยุดทำงานไป (จะทำงานอีกครั้งเมื่อใช้พวกโปรแกรม Management เข้าถึงข้อมูลใน DMI Pool เท่านั้น)
4. ต่อไปเมื่อคอมพิวเตอร์เปิดขึ้นมาแล้ว ก็เอาไบออสตัวเก่าออก แกะขณะที่เปิดเครื่องอยู่ (ระวังตัวไบออสตกลงบน เมนบอร์ด หรือพลาดขาไปถูกส่วนอื่น ที่เป็นวงจรในเคส ระวังเกิดความเสียหาย
5. เมื่อถอดเสร็จให้เอาไบออสตัวที่เสียใส่ลงไปแทน และ Flash BIOS ลงไปอีกครั้ง โดยใช้โปรแกรม Flash BIOS ตามปกติ หลังจากนั้นให้ลองบูตเครื่อง ถ้าบูตได้ก็แสดงว่า BIOS ตัวที่เสียถูก Re-Program ให้สามารถใช้งาน ได้ตามปกติอีก

เครื่องมือที่หาเองได้ ก็แผ่นเหล็กปิดฝาหลังเคสนั่นแหละ หรือไม่ก็ไขควงปากแบนตัวเล็กๆ เอาไว้สำหรับ EEPROM ออก จาก Socket ต้องการมือที่นุ่มนวล แต่แข็งแกร่ง ออกแรงน้อยๆก่อน แล้วแรงเด็ดขาด อย่าแรงมาก

แต่ถ้ามี 'คีมปากแบนแบบในภาพจะช่วยได้มาก ปกติ แล้วแต่การวางตัวของ EEPROM ถ้าง่ายขนาดว่าไม่ต้องถอดออก จากเคสก็ไม่ต้องเอาออกมาก็ได้ แต่ถ้ามันยากเกินที่จะสอดมือใปทำงานในเคส ก็ถอดเอาเมนบอร์ดออกมา งานใหญ่ล่ะ คราวนี้จะเริ่มถอดล่ะนะ ค่อยๆแซะล่ะ อย่ารีบร้อน บางตัวถอดง่าย บางตัวยากเข็ญ และถ้าใช้แรงมากเกินไป ขา EEPROM จะหักเอา

เวลาถอดตัว EEPROM ออกมาแล้ว โปรดสังเกตด้วยนะ มันจะมี Mark ไว้ว่าขาที่ 1 น่ะขาไหน โดยมากก็เป็นจุดหลุมเล็ก บนตัว EEPROM โดยบน Socket เขาก็บากทำตำแหน่งไว้ ต้องใส่ให้ตรงกัน ถ้าใส่ไม่ตรงกัน ไบออสจะไหม้ได้ ตรงนี้ต้องระวังอย่างมาก ถ้าถอดออกมาแล้ว

ไปหายืมเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆที่ใช้เมนบอร์ดรุ่นเดียวกันเพื่อเขียนไบออสใหม่ไม่ได้ ก็เห็นต้องพึ่งพาเครื่อ เขียน ไบออส ที่หน้าตาเป็นแบบนี้แหละครับ หาใช้บริการได้ที่ร้านแถว 'บ้านหม้อ' และ 'พันธ์ทิพย์'

สำหรับ BIOS แบบเสียบลง Socket พบในเมนบอร์ดของเครื่องมียี่ห้อบางรุ่น และเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆที่ใช้ชิปเซ็ตอย่าง Intel 810 เพิ่มความยุ่งยากอีกนิดหน่อย แต่ถ้ารู้เทคนิคแล้ว ไม่ยากหรอก นี่แหละตัว BIOS ฝังอยู่ใน Socket แบบนี้แหละ แต่ไม่ได้หมายความว่าถอดออกมาไม่ได้นะ ถอดออกมาได้

เคล็ดลับอยู่ 'คลิปหนีบกระดาษ' ตัวเล็กๆ นี่แหละ เอามาคลายลวดออกให้ปลายแหลมๆ ทำให้ต้อง 'คลิป' เพราะคลิปมันใช้ 'ลวดเป็น' งัย คือ ขืนตัวแข็งไม่อ่อนตัว ใช้คลิปนี้แหละ ด้านปลายลวดสอดเข้าไปใน Socket แล้วก็..พยายามสอดและดึง EEPROM ขึ้นมาน่ะ คงไม่ยากนะ อีกวิธีหนึ่งที่ไม่เคยมีแนะนำไว้ในตำรา แต่มีนักทดลองหลายท่านเคยบอกผมก็คือ ระหว่างการเปิดเครื่องนั้น ให้ถอดไบออสดีออก และเอาไบออสเสียใส่ลงไป แล้วปิดเครื่องคอมพิวเตอร์เปิดสวิตช์ อีกครั้ง ก็จะเป็น Hot Burn BIOS แต่ผมลองแล้วไม่ประสบความสำเร็จ แต่ถ้าไม่มีอะไรที่ดีกว่านั้นสำหรับ เมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆ ที่ Flash BIOS ได้ แต่ตัวไบออสถูกบัดกรีลงบนเมนบอร์ดอย่างถาวร เช่น Intel BI440ZX กรณีที่ถูก CIH ทำลายไบออส คงไม่มีทางเลือกนอกจากส่งเข้าซ่อมเท่านั้น เพราะอย่างไรก็แก้ไขเองไม่ได้
4.3  เมนูการปรับแต่งค่าใน BIOS
       
วิธีตรวจเช็ค BIOS บนเมนบอร์ด ASRock พร้อมอัพเดตได้รวดเร็ว
      Bios Setup ของ Award และ Am
      คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กของ HP - การอัปเดต BIOS