ภาระงาน
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๙ แห่งระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์การลงโทษนักเรียน นักศึกษา พ.ศ.๒๕๔๘ วิทยาลัยเทคนิคกาญจนบุรี จึงวางระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการพิจารณาโทษนักเรียนและนักศึกษา ไว้ดังต่อไปนี้
|
ข้อ ๑. ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบวิทยาลัยเทคนิคกาญจนบุรี ว่าด้วยการลงโทษนักเรียน นักศึกษา พ.ศ.๒๕๕๕ "
|
ข้อ ๒. ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
|
ข้อ ๓. ในระเบียบนี้
|
"กระทำความผิด " หมายความว่า การที่นักเรียนหรือนักศึกษาประพฤติฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับของสถานศึกษา ระเบียบข้อบังคับของกระทรวงศึกษาธิการ หรือประพฤติฝ่าฝืนระเบียบกฎกระทรวงว่าด้วยความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา
|
"คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการปกครองนักเรียน นักศึกษา
|
"ผู้อำนวยการวิทยาลัย" หมายความรวมถึง ผู้อำนวยการหน่วยงานที่มีฐานะเทียบเท่าวิทยาลัย หรือผู้รักษาการในตำแหน่งดังกล่าว
|
"หัวหน้างานปกครอง " หมายความว่า ครูที่ทำหน้าที่หัวหน้างานปกครองตามระเบียบว่าด้วย การบริหารสถานศึกษา
|
"ครูปกครองแผนก " หมายความว่า ครูที่ทำหน้าที่ปกครองดูแลความเรียบร้อยของนักเรียน และนักศึกษาในแต่ละแผนกวิชา
|
"นักศึกษา" หมายความว่า ผู้ที่ศึกษาตามหลักสตรประกาศนียบัตรวิชาขีพขั้นสูง (ปวส.) หรือ สูงกว่า
|
"ผู้ปกครอง" หมายความว่า บิดามารดา หรือบิดา หรือมารดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือ ผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของนักเรียน และให้หมายความรวมถึงบุคคลที่นักเรียน อยู่ด้วยเป็นประจำ
|
ข้อ ๔. ให้มีคณะกรรมการปกครองนักเรียน นักศึกษาที่อำนวยการวิทยาลัย แต่งตั้งประกอบด้วย
|
(๑) รองผู้อำนวยการวิทยาลัยฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียน นักศึกษา เป็นประธานกรรมการ
|
(๒) ครูปกครองแผนก เป็นกรรมการ
|
(๓) หัวหน้างานแนะแนว เป็นกรรมการ
|
(๔) หัวหน้างานปกครอง เป็นกรรมการและเลขานุการ
|
(๕) หัวหน้างานครูที่ปรึกษา เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
|
ข้อ ๕. คณะกรรมการปกครองนักเรียน นักศึกษา มีอำนาจหน้าที่ต่อไปนี้
|
(๑) ดำเนินการสืบสวน สอบสวน และรวบรวมพยานหลักฐานกรณีนักเรียน นักศึกษา ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด
|
(๒) พิจารณาเสนอระดับการลงโทษนักเรียน นักศึกษา
|
(๓) เสนอแก้ไข ปรับปรุง ระเบียบหลักเณฑ์ ว่าด้วยการตัดคะแนนความประพฤติ เพื่อพิจารณาลงโทษนักเรียนและนักศึกษา
|
ข้อ ๖. การพิจารณาลงโทษนักเรียน นักศึกษา ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
|
(๑) ให้คณะกรรมการจำนวนไม่น้อยกว่า ๓ คน ดำเนินการสืบสวน สอบสวน พยาน บุคคล พยานเอกสารที่เกี่ยวข้องตามข้อกล่าวหา
|
(๒) ให้คณะกรรมการแจ้งให้นักเรียน นักศึกษาที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิด มีโอกาสให้การแก้ข้อกล่าวหา และนำสืบพยานหลักฐาน แก้ข้อกล่าวหาเป็นลายลักษณ์อักษร ก่อนพิจารณาเสนอระดับการลงโทษนักเรียน นักศึกษา
|
(๓) พิจารณาข้อเท็จจริง พยานหลักฐาน สรุปความเห็นระดับการลงโทษต่อผู้อำนวยการวิทยาลัย
|
(๔) การประชุมพิจารณาโทษนักเรียน นักศึกษาต้องมีคณะกรรมการเข้าร่วมประชุม ไม่น้อยกว่า ๒ ใน ๓ ของคณะกรรมการทั้งหมด
|
(๕) การพิจารณาลงโทษนักเรียน นักศึกษา ต้องมีการดำเนินการสืบสวนของคณะกรรมการ ปกครองนักเรียน นักศึกษา ก่อน เว้นแต่นักเรียน นักศึกษาให้การรับสารภาพเป็น หนังสือว่าได้กระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหา
|
ข้อ ๗. โทษที่จะลงโทษแก่นักเรียน หรือนักศึกษาที่กระทำผิด มี ๔ สถาน ดังนี้
|
(๑) ว่ากล่าวตักเตือน
|
(๒) ทำทัณฑ์บน
|
(๓) ตัดคะแนนความประพฤติ
|
(๔) ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
|
ข้อ ๘. การลงโทษนักเรียน นักศึกษาให้ลงโทษตามระดับโทษ ดังนี้
|
(๑) การว่ากล่าวตักเตือน ใช้ในกรณีนักเรียนหรือนักศึกษากระทำความผิดไม่ร้ายแรง
|
(๒) การทำทัณฑ์บนใช้ในกรณีนักเรียนหรือนักศึกษา ที่กระทำผิดในกรณีตังต่อไปนี้
|
(ก) ประพฤติตนไม่เหมาะสมกับสภาพนักเรียนหรือนักศึกษา ตามกฏกระทรวง ว่าด้วยความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา พ.ศ.๒๕๔๘
|
(ข) ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงเกียรติคักดิ์ของสถานศึกษา
|
(ค) ฝ่าฝืนระเบียบของสถานศึกษา
|
(ง) ได้รับโทษว่ากล่าวตักเตือนมาแล้ว แต่ยังไม่เข็ดหลาบ
|
(๓) ตัดคะแนนความประพฤติ
|
(๔) ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
|
ข้อ ๙. ผู้มีอำนาจสั่งตัดคะแนนความประพฤติได้แก่
|
(๑) ครูสั่งตัดคะแนนความประพฤติได้ครั้งละไม่เกิน ๕ คะแนน
|
(๒) รองผู้อำนวยการวิทยาลัย, ห้วหน้างานปกครองสั่งตัดคะแนนความประพฤติได้ ครั้งละไม่เกิน ๑๐ คะแนน
|
(๓) ผู้อำนวยการวิทยาลัย สั่งตัดคะแนนความประพฤติได้ครั้งละไม่เกิน ๓๐ คะแนน
|
ข้อ ๑๐. การตัดคะแนนความประพฤติ นักเรียน นักศึกษา ตามกฎกระทรวง กำหนดความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๘ ให้ตัดคะแนนความประพฤติได้ดังนี้
|
(๑) หนีเรียนหรือออกนอกสถานศึกษา โดยไม่ได้รับอนุญาตในช่วงเวลาเรียน ครั้งละไม่เกิน ๕ คะแนน
|
(๒) เล่นการพนัน จัดให้มีการเล่นการพนัน หรือมั่วสุมในวงการพนัน ครั้งละไม่เกิน ๒๐ คะแนน
|
(๓) พกพาอาวุรหรือวัตถุระเบิด ครั้งละไม่เกิน ๓๐ คะแนน
|
(๔) เสพยาเสพติดประเภทที่ ๑-๕ หรือเสพสุรา บุหรี่ ครั้งละไม่เกิน ๒๐ คะแนน
|
(๕) จำหน่ายยาเสพติดประเภทที่ ๑-๕ หรือเสพสุรา บุหรี่ ครั้งละไม่เกิน ๓๐ คะแนน
|
(๖) ซื้อ จำหน่าย แลกเปลี่ยน เสพสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ สิ่งมึนเมา บุหรี่ หรือยาเสพติดครั้งละไม่เกิน ๓๐ คะแนน
|
(๗) ลักทรัพย์ กรรโชกทรัพย์ ข่มขู่ หรือบังคับขืนใจเพื่อเอาทรัพย์บุคคลอื่น ครั้งละ ไม่เกิน ๓๐ คะแนน
|
(๘) ก่อเหตุทะเลาะวิวาท ครั้งละไม่เกิน ๒๐ คะแนน
|
(๙) ก่อเหตุทะเลาะวิวาทโดยใช้อาวุธ หรือในที่สาธารณะสถาน ครั้งละไม่เกิน ๓๐ คะแนน
|
** ก่อเหตุทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกายผู้อื่น เตรียมการหรือกระทำการใดๆ อันน่าจะก่อให้เกิด ความไม่สงบเรียบร้อยหรือขัดต่อศีลรรรมอันดีของประขาชน
|
(๑๐) แสดงพฤติกรรมชู้สาวซึ่งไม่เหมาะสมในที่สาธารณะ ครั้งละ ไม่เกิน ๒๐ คะแนน
|
(๑๑) เกี่ยวข้องกับการค้าประเวณี ครั้งละ ไม่เกิน ๓๐ คะแนน
|
(๑๒) ออกนอกสถานที่พักเวลากลางคืน เพื่อเที่ยวเตร่หรือรวมกลุ่ม อันเป็นการสร้าง ความเดือดร้อนให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น ครั้งละไม่เกิน ๒๐ คะแนน
|
การตัดคะแนนความประพฤติให้รวมตลอดปีการศึกษา เมื่อเริ่มต้นปีการศึกษาใหม่ ให้ ยกเลิกคะแนนความประพฤติที่ถูกตัดไว้เดิม เว้นแต่กรณีถูกทำทัณฑ์บนมาแล้ว
|
ข้อ ๑๑. นักเรียน นักศึกษาที่กระทำความผิดดังต่อไปนี้ อาจถูกลงโทษทำกิจกรรม เพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
|
(๑) ขโมยทรัพย์สินของวิทยาลัย หรือของบุคคลอื่นโดยปรากฏหลักฐานขัดเจน
|
(๒) ความผิดอื่นใดซึ่งคณะกรรมการปกครองนักเรียน นักศึกษาเห็นว่าเป็นความผิด สถานหนัก ไม่ว่าจะเคยถูกลงโทษมาก่อนหรือไม่
|
(๓) ยุยงหรือข่มขู่ให้เกิดความกระด้างกระเดื่งต่อวิทยาลัย หรือชุมนุมประท้วงเรียกร้อง สิทธิต่างๆ โดยมิชอบ
|
(๔) เป็นผู้นำในการซ่องสุม ก่อกวนความสงบเรียบร้อย ยกพวกก่อการทะเลาะวิวาท
|
(๕) เจตนาทำร้ายผู้อื่นหรือหมู่คระด้วยอาวุธ
|
(๖) ประพฤติผิดศีลรรรมอย่างร้ายแรงและทำให้ชื่อเสียงวิทยาลัยเสียหาย
|
(๗) มีสารเสพติดไว้ในครอบครองเพื่อวัตถุประสงค์การจำหน่าย จ่าย แจก ฝิ่น กัญชา ยาบ้า เฮโรอีน หรือ สารเสพติดอื่นๆ
|
(๘) ขาดเรียนติดต่อกันนานเกิน ๑๕ วัน โดยไม่แจ้งเหตุผลให้วิทยาลัยทราบ หรือไม่มี เหตุผลอันควร
|
(๙) ฝ่าฝื่นระเบียบวิทยาลัย และทำให้ชื่อเสียงวิทยาลัยเสียหายอย่างร้ายแรง
|
(๑๐) ดูหมิ่น ก้าวร้าว ครู หรือบุคคลอื่น
|
(๑๑) ผลิต จำหน่าย จ่าย แจก สื่อลามกอนาจาร
|
(๑๒) ถูกตัดคะแนนความประพฤติเกินกว่า ๓๐ คะแนนใน ๑ ภาคเรียน
|
(๑๓) ถูกตัดคะแนนความประพฤติภาคเรียนละ ๓๐ คะแนน จำนวน ๒ ภาคเรียน
|
(๑๔) เคยถูกลงโทษทัณฑ์บนมาแล้ว
|
(๑๕) ทำลายทรัพย์สินของวิทยาลัยหรือของบุคคลอื่นโดยเจตนา
|
ข้อ ๑๒. การลงโทษนักเรียน นักศึกษา ทุกระดับโทษ ให้แจ้งนักเรียน นักศึกษาที่ถูกลงโทษ ทราบการลงโทษเป็นหนังสือทุกครั้ง และให้แจ้งสิทธิ์ในการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษให้ผู้ถูกลงโทษทราบ ดังนี้
|
(๑) ครู, หัวหน้างานปกครอง, รองผู้อำนวยการวิทยาลัย สั่งลงโทษให้อุทธรณ์ต่อผู้อำนวยการวิทยาลัย ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งลงโทษ
|
(๒) ผู้อำนวยการวิทยาลัยสั่งลงโทษ ให้อุทธรณ์ต่อเลขาธิการคณะกรรมการการอาขีวศึกษา ภายไน ๑๕ วัน นับแต่ที่ได้รับแจ้งคำสั่งลงโทษ
|
ข้อ ๑๓. การสั่งลงโทษนักเรียน นักศึกษา ทุกระดับโทษ ให้บันทึกในแฟัมประวัติประจำนักเรียน นักศึกษา และให้ดำเนินการดังนี้
|
(๑) การทัณฑ์บนให้ทำเป็นหนังสือ และเชิญบิดา มารดา หรือผู้ปกครองมาบันทึกรับ ทราบความผิดและรับรองการทำทัณฑ์บนไว้ด้วย
|
(๒) การตัดคะแนนความประพฤติตั้งแต่ ๒๐ คะแนน ขึ้นไป ให้เชิญบิดา มารดา หรือ ผู้ปกครองมารับทราบด้วย
|
(๓) การทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียน นักศึกษา ให้เป็นไปตาม แนวทางที่กระทรวงศึกษารธิการกำหนด
|
ข้อ ๑๔. เกณฑ์การพิจารณาลงโทษ ถืือปฏิบัติตามระดับคะแนนดังนี้
|
(๑) ถูกตัดคะแนนความประพฤติ ๕ หรือ ๑๐ คะแนน ให้ว่ากล่าวตักเตือนเป็น ลายลักษณ์อักษร
|
(๒) ถูกตัดคะแนนความประพฤติ ๑๕ คะแนน ทำกิจกรรม ๖๐ ชั่วโมง
|
(๓) ถูกตัดคะแนนความประพฤติ ๒๐ คะแนน ทำกิจกรรม ๙๐ ชั่วโมง และทำทัณฑ์บน
|
(๔) ถูกตัดคะแนนความประพฤติ ๒๕ คะแนน ทำกิจกรรม ๑๒๐ ชั่วโมง
|
(๕) ถูกตัดคะแนนความประพฤติ ๓๐ คะแนน ทำกิจกรรม ๑๕๐ ชั่วโมง
|
(๖) ถูกตัดคะแนนความประพฤติเกิน ๓๐ คะแนน ใน ๑ ภาคเรียน ให้ทำกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (โดยปรับเปลี่ยนสถานศึกษา)
|
ข้อ ๑๕. ให้ผู้อำนวยการวิทยาลัย เป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
|