เรียนจบแล้วทำอะไรได้บ้าง/ศึกษาต่อที่ไหนได้บ้าง
ลักษณะงาน
งานหลัก ๆ ของเลขานุการคือจัดการลำดับและลดภาระงานให้ผู้บริหารหรือหัวหน้าตรงของเรา เหมือนเป็นด่านหน้าให้หัวหน้าในการคัดกรองงานต่าง ๆ ก่อนให้เข้าถึงผู้บริหาร ซึ่งตัวเลขานุการต้องเข้าใจเป้าหมายและการให้ความสำคัญขององค์กรเป็นอย่างดีก่อน โดยเลขานุการควรทำงานเชิงรุก (Proactive) เพื่อเป็นหน่วยสนับสนุนให้กับหัวหน้ารวมทั้งจัดเก็บข้อมูลและความลับต่าง ๆ ที่เป็นของหัวหน้างานของเราอย่างเคร่งครัดด้วย
ขั้นตอนการทำงาน
แบ่งงานออกเป็นสามส่วนใหญ่ ๆ
- งานประจำวัน (Routine Operation)
- งานนัดหมาย/และจัดตารางนัดหมาย การประชุมต่างๆ
- ดำเนินการจัดประชุมและติดตามผลการประชุม
- ทำสรุปการประชุม
- คัดกรองผู้เข้ามาติดต่อเบื้องต้น
- งานอำนวยความสะดวก (Personal Convenience)
- งานต้อนรับแขกของผุ้บริหาร
- ดูแลความเรียบร้อยต่างๆ ของผู้บริหาร
- งานส่วนตัวของผู้บริหาร (Private Liaison)
- เตรียมการเดินทาง business trip อาทิ การจองตั๋ว จัดการเรื่องเช่ารถ การเดินทาง
- เตือนความจำในโอกาสต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการทำงาน หรือเรื่องส่วนตัว
ทางเลือกอาชีพอื่นๆ
เนื่องจากเลขานุการ เป็นอาชีพที่ต้องติดต่อประสานงานกับทุกฝ่ายเผื่อให้ได้ข้อมูลมา จึงสามารถนำไปสู่การต่อยอดในสายอาชีพอื่นได้ขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถ ความถนัด และโอกาสที่ได้รับ
- เจ้าหน้าที่ประสานงาน
- เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์
- เจ้าหน้าที่ธุรการ
- ผู้ช่วยผู้จัดการ
ตัวอย่างมหาวิทลัยและคณะที่เกี่ยวข้อง
1.จุฬาลงกรฯ์มหวิทลัย คณะอักษรศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษ
2.มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะอักษรศาสตร์
3.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษ
4.มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะมนุษยศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษ
5.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะมนุษยศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษ
6.มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะมนุษยศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษ
7.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะมนุษยศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษ
8.มหาวิทยาลัยบูรพา คณะมนุษยศาสตร์และสังคม สาขาภาษาอังกฤษ
9.มหาวิทยาลัยทักษิณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคม สาขาภาษาอังกฤษ
10.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะมนุษยศาสตร์และสังคม สาขาภาษาอังกฤษ