ภาระงาน

อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๙ แห่งระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์การลงโทษนักเรียน นักศึกษา พ.ศ.๒๕๔๘ วิทยาลัยเทคนิคกาญจนบุรี จึงวางระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการพิจารณาโทษนักเรียนและนักศึกษา ไว้ดังต่อไปนี้

     ข้อ ๑. ระเบียบนี้เรียกว่า 'ระเบียบวิทยาลัยเทคนิคกาญจนบุรี ว่าด้วยการลงโทษนักเรียน นักศึกษา พ.ศ.๒๕๕๕ '

     ข้อ ๒. ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป

     ข้อ ๓. ในระเบียบนี้

          'กระทำความผิด ' หมายความว่า การที่นักเรียนหรือนักศึกษาประพฤติฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับของสถานศึกษา ระเบียบข้อบังคับของกระทรวงศึกษาธิการ หรือประพฤติฝ่าฝืนระเบียบกฎกระทรวงว่าด้วยความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา

          'คณะกรรมการ' หมายความว่า คณะกรรมการปกครองนักเรียน นักศึกษา

          'ผู้อำนวยการวิทยาลัย' หมายความรวมถึง ผู้อำนวยการหน่วยงานที่มีฐานะเทียบเท่าวิทยาลัย หรือผู้รักษาการในตำแหน่งดังกล่าว

          'หัวหน้างานปกครอง ' หมายความว่า ครูที่ทำหน้าที่หัวหน้างานปกครองตามระเบียบว่าด้วย การบริหารสถานศึกษา

          'ครูปกครองแผนก ' หมายความว่า ครูที่ทำหน้าที่ปกครองดูแลความเรียบร้อยของนักเรียน และนักศึกษาในแต่ละแผนกวิชา

          'นักศึกษา' หมายความว่า ผู้ที่ศึกษาตามหลักสตรประกาศนียบัตรวิชาขีพขั้นสูง (ปวส.) หรือ สูงกว่า

          'ผู้ปกครอง' หมายความว่า บิดามารดา หรือบิดา หรือมารดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือ ผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของนักเรียน และให้หมายความรวมถึงบุคคลที่นักเรียน อยู่ด้วยเป็นประจำ

     ข้อ ๔. ให้มีคณะกรรมการปกครองนักเรียน นักศึกษาที่อำนวยการวิทยาลัย แต่งตั้งประกอบด้วย

          (๑) รองผู้อำนวยการวิทยาลัยฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียน นักศึกษา เป็นประธานกรรมการ

          (๒) ครูปกครองแผนก เป็นกรรมการ

          (๓) หัวหน้างานแนะแนว เป็นกรรมการ

          (๔) หัวหน้างานปกครอง เป็นกรรมการและเลขานุการ

          (๕) หัวหน้างานครูที่ปรึกษา เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

     ข้อ ๕. คณะกรรมการปกครองนักเรียน นักศึกษา มีอำนาจหน้าที่ต่อไปนี้

          (๑) ดำเนินการสืบสวน สอบสวน และรวบรวมพยานหลักฐานกรณีนักเรียน นักศึกษา ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด

          (๒) พิจารณาเสนอระดับการลงโทษนักเรียน นักศึกษา

          (๓) เสนอแก้ไข ปรับปรุง ระเบียบหลักเณฑ์ ว่าด้วยการตัดคะแนนความประพฤติ เพื่อพิจารณาลงโทษนักเรียนและนักศึกษา

     ข้อ ๖. การพิจารณาลงโทษนักเรียน นักศึกษา ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้

          (๑) ให้คณะกรรมการจำนวนไม่น้อยกว่า ๓ คน ดำเนินการสืบสวน สอบสวน พยาน บุคคล พยานเอกสารที่เกี่ยวข้องตามข้อกล่าวหา

          (๒) ให้คณะกรรมการแจ้งให้นักเรียน นักศึกษาที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิด มีโอกาสให้การแก้ข้อกล่าวหา และนำสืบพยานหลักฐาน แก้ข้อกล่าวหาเป็นลายลักษณ์อักษร ก่อนพิจารณาเสนอระดับการลงโทษนักเรียน นักศึกษา

          (๓) พิจารณาข้อเท็จจริง พยานหลักฐาน สรุปความเห็นระดับการลงโทษต่อผู้อำนวยการวิทยาลัย

          (๔) การประชุมพิจารณาโทษนักเรียน นักศึกษาต้องมีคณะกรรมการเข้าร่วมประชุม ไม่น้อยกว่า ๒ ใน ๓ ของคณะกรรมการทั้งหมด

          (๕) การพิจารณาลงโทษนักเรียน นักศึกษา ต้องมีการดำเนินการสืบสวนของคณะกรรมการ ปกครองนักเรียน นักศึกษา ก่อน เว้นแต่นักเรียน นักศึกษาให้การรับสารภาพเป็น หนังสือว่าได้กระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหา

     ข้อ ๗. โทษที่จะลงโทษแก่นักเรียน หรือนักศึกษาที่กระทำผิด มี ๔ สถาน ดังนี้

          (๑) ว่ากล่าวตักเตือน

          (๒) ทำทัณฑ์บน

          (๓) ตัดคะแนนความประพฤติ

          (๔) ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

     ข้อ ๘. การลงโทษนักเรียน นักศึกษาให้ลงโทษตามระดับโทษ ดังนี้

          (๑) การว่ากล่าวตักเตือน ใช้ในกรณีนักเรียนหรือนักศึกษากระทำความผิดไม่ร้ายแรง

          (๒) การทำทัณฑ์บนใช้ในกรณีนักเรียนหรือนักศึกษา ที่กระทำผิดในกรณีตังต่อไปนี้

               (ก) ประพฤติตนไม่เหมาะสมกับสภาพนักเรียนหรือนักศึกษา ตามกฏกระทรวง ว่าด้วยความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา พ.ศ.๒๕๔๘

               (ข) ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงเกียรติคักดิ์ของสถานศึกษา

               (ค) ฝ่าฝืนระเบียบของสถานศึกษา

               (ง) ได้รับโทษว่ากล่าวตักเตือนมาแล้ว แต่ยังไม่เข็ดหลาบ

          (๓) ตัดคะแนนความประพฤติ

          (๔) ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

     ข้อ ๙. ผู้มีอำนาจสั่งตัดคะแนนความประพฤติได้แก่

          (๑) ครูสั่งตัดคะแนนความประพฤติได้ครั้งละไม่เกิน ๕ คะแนน

          (๒) รองผู้อำนวยการวิทยาลัย, ห้วหน้างานปกครองสั่งตัดคะแนนความประพฤติได้ ครั้งละไม่เกิน ๑๐ คะแนน

          (๓) ผู้อำนวยการวิทยาลัย สั่งตัดคะแนนความประพฤติได้ครั้งละไม่เกิน ๓๐ คะแนน

     ข้อ ๑๐. การตัดคะแนนความประพฤติ นักเรียน นักศึกษา ตามกฎกระทรวง กำหนดความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๘ ให้ตัดคะแนนความประพฤติได้ดังนี้

          (๑) หนีเรียนหรือออกนอกสถานศึกษา โดยไม่ได้รับอนุญาตในช่วงเวลาเรียน ครั้งละไม่เกิน ๕ คะแนน

          (๒) เล่นการพนัน จัดให้มีการเล่นการพนัน หรือมั่วสุมในวงการพนัน ครั้งละไม่เกิน ๒๐ คะแนน

          (๓) พกพาอาวุรหรือวัตถุระเบิด ครั้งละไม่เกิน ๓๐ คะแนน

          (๔) เสพยาเสพติดประเภทที่ ๑-๕ หรือเสพสุรา บุหรี่ ครั้งละไม่เกิน ๒๐ คะแนน

          (๕) จำหน่ายยาเสพติดประเภทที่ ๑-๕ หรือเสพสุรา บุหรี่ ครั้งละไม่เกิน ๓๐ คะแนน

          (๖) ซื้อ จำหน่าย แลกเปลี่ยน เสพสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ สิ่งมึนเมา บุหรี่ หรือยาเสพติดครั้งละไม่เกิน ๓๐ คะแนน

          (๗) ลักทรัพย์ กรรโชกทรัพย์ ข่มขู่ หรือบังคับขืนใจเพื่อเอาทรัพย์บุคคลอื่น ครั้งละ ไม่เกิน ๓๐ คะแนน

          (๘) ก่อเหตุทะเลาะวิวาท ครั้งละไม่เกิน ๒๐ คะแนน

          (๙) ก่อเหตุทะเลาะวิวาทโดยใช้อาวุธ หรือในที่สาธารณะสถาน ครั้งละไม่เกิน ๓๐ คะแนน

     ** ก่อเหตุทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกายผู้อื่น เตรียมการหรือกระทำการใดๆ อันน่าจะก่อให้เกิด ความไม่สงบเรียบร้อยหรือขัดต่อศีลรรรมอันดีของประขาชน

          (๑๐) แสดงพฤติกรรมชู้สาวซึ่งไม่เหมาะสมในที่สาธารณะ ครั้งละ ไม่เกิน ๒๐ คะแนน

          (๑๑) เกี่ยวข้องกับการค้าประเวณี ครั้งละ ไม่เกิน ๓๐ คะแนน

          (๑๒) ออกนอกสถานที่พักเวลากลางคืน เพื่อเที่ยวเตร่หรือรวมกลุ่ม อันเป็นการสร้าง ความเดือดร้อนให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น ครั้งละไม่เกิน ๒๐ คะแนน

     การตัดคะแนนความประพฤติให้รวมตลอดปีการศึกษา เมื่อเริ่มต้นปีการศึกษาใหม่ ให้ ยกเลิกคะแนนความประพฤติที่ถูกตัดไว้เดิม เว้นแต่กรณีถูกทำทัณฑ์บนมาแล้ว

     ข้อ ๑๑. นักเรียน นักศึกษาที่กระทำความผิดดังต่อไปนี้ อาจถูกลงโทษทำกิจกรรม เพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

          (๑) ขโมยทรัพย์สินของวิทยาลัย หรือของบุคคลอื่นโดยปรากฏหลักฐานขัดเจน

          (๒) ความผิดอื่นใดซึ่งคณะกรรมการปกครองนักเรียน นักศึกษาเห็นว่าเป็นความผิด สถานหนัก ไม่ว่าจะเคยถูกลงโทษมาก่อนหรือไม่

          (๓) ยุยงหรือข่มขู่ให้เกิดความกระด้างกระเดื่งต่อวิทยาลัย หรือชุมนุมประท้วงเรียกร้อง สิทธิต่างๆ โดยมิชอบ

          (๔) เป็นผู้นำในการซ่องสุม ก่อกวนความสงบเรียบร้อย ยกพวกก่อการทะเลาะวิวาท

          (๕) เจตนาทำร้ายผู้อื่นหรือหมู่คระด้วยอาวุธ

          (๖) ประพฤติผิดศีลรรรมอย่างร้ายแรงและทำให้ชื่อเสียงวิทยาลัยเสียหาย

          (๗) มีสารเสพติดไว้ในครอบครองเพื่อวัตถุประสงค์การจำหน่าย จ่าย แจก ฝิ่น กัญชา ยาบ้า เฮโรอีน หรือ สารเสพติดอื่นๆ

          (๘) ขาดเรียนติดต่อกันนานเกิน ๑๕ วัน โดยไม่แจ้งเหตุผลให้วิทยาลัยทราบ หรือไม่มี เหตุผลอันควร

          (๙) ฝ่าฝื่นระเบียบวิทยาลัย และทำให้ชื่อเสียงวิทยาลัยเสียหายอย่างร้ายแรง

          (๑๐) ดูหมิ่น ก้าวร้าว ครู หรือบุคคลอื่น

          (๑๑) ผลิต จำหน่าย จ่าย แจก สื่อลามกอนาจาร

          (๑๒) ถูกตัดคะแนนความประพฤติเกินกว่า ๓๐ คะแนนใน ๑ ภาคเรียน

          (๑๓) ถูกตัดคะแนนความประพฤติภาคเรียนละ ๓๐ คะแนน จำนวน ๒ ภาคเรียน

          (๑๔) เคยถูกลงโทษทัณฑ์บนมาแล้ว

          (๑๕) ทำลายทรัพย์สินของวิทยาลัยหรือของบุคคลอื่นโดยเจตนา

     ข้อ ๑๒. การลงโทษนักเรียน นักศึกษา ทุกระดับโทษ ให้แจ้งนักเรียน นักศึกษาที่ถูกลงโทษ ทราบการลงโทษเป็นหนังสือทุกครั้ง และให้แจ้งสิทธิ์ในการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษให้ผู้ถูกลงโทษทราบ ดังนี้

          (๑) ครู, หัวหน้างานปกครอง, รองผู้อำนวยการวิทยาลัย สั่งลงโทษให้อุทธรณ์ต่อผู้อำนวยการวิทยาลัย ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งลงโทษ

          (๒) ผู้อำนวยการวิทยาลัยสั่งลงโทษ ให้อุทธรณ์ต่อเลขาธิการคณะกรรมการการอาขีวศึกษา ภายไน ๑๕ วัน นับแต่ที่ได้รับแจ้งคำสั่งลงโทษ

     ข้อ ๑๓. การสั่งลงโทษนักเรียน นักศึกษา ทุกระดับโทษ ให้บันทึกในแฟัมประวัติประจำนักเรียน นักศึกษา และให้ดำเนินการดังนี้

          (๑) การทัณฑ์บนให้ทำเป็นหนังสือ และเชิญบิดา มารดา หรือผู้ปกครองมาบันทึกรับ ทราบความผิดและรับรองการทำทัณฑ์บนไว้ด้วย

          (๒) การตัดคะแนนความประพฤติตั้งแต่ ๒๐ คะแนน ขึ้นไป ให้เชิญบิดา มารดา หรือ ผู้ปกครองมารับทราบด้วย

          (๓) การทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียน นักศึกษา ให้เป็นไปตาม แนวทางที่กระทรวงศึกษารธิการกำหนด

     ข้อ ๑๔. เกณฑ์การพิจารณาลงโทษ ถืือปฏิบัติตามระดับคะแนนดังนี้

          (๑) ถูกตัดคะแนนความประพฤติ ๕ หรือ ๑๐ คะแนน ให้ว่ากล่าวตักเตือนเป็น ลายลักษณ์อักษร

          (๒) ถูกตัดคะแนนความประพฤติ ๑๕ คะแนน ทำกิจกรรม ๖๐ ชั่วโมง

          (๓) ถูกตัดคะแนนความประพฤติ ๒๐ คะแนน ทำกิจกรรม ๙๐ ชั่วโมง และทำทัณฑ์บน

          (๔) ถูกตัดคะแนนความประพฤติ ๒๕ คะแนน ทำกิจกรรม ๑๒๐ ชั่วโมง

          (๕) ถูกตัดคะแนนความประพฤติ ๓๐ คะแนน ทำกิจกรรม ๑๕๐ ชั่วโมง

          (๖) ถูกตัดคะแนนความประพฤติเกิน ๓๐ คะแนน ใน ๑ ภาคเรียน ให้ทำกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (โดยปรับเปลี่ยนสถานศึกษา)

     ข้อ ๑๕. ให้ผู้อำนวยการวิทยาลัย เป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้