การเลือกบริโภคอาหาร

การเลือกบริโภคอาหาร

 

การเลือกบริโภคอาหาร

    อาหาร หมายถึงสิ่งที่ร่างกายรับเข้าไปทั้งที่สสารและพลังงาน เกิดกระบวนการสังเคราะห์จนร่างกายสามารถนำไปใช้ได้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งทุกวันนี้อาหารส่วนใหญ่จะเป็นอาหารที่เป็นพิษ มีโทษเพราะกว่าผลผลิตจะมาถึงผู้บริโภคต้องผ่านกระบวนการต่างๆเพื่อรักษาสภาพของวัตถุดิบไว้ให้ใหม่สดอยู่เสมอ จึงต้องมีการเติมสารเคมีเข้า หรือถ้าหากอยากกินอาหารที่ไม่มีในฤดูกาลนั้นๆ ในฤดูกาลอื่นก็จะกรรมวิธีผลิตต่างๆออกมาอีกซึ่งต้องใช้สารเคมีทั้งนั้น และกระแสบริโภคนิยมในปัจจุบันกำลังมาแรง เช่น อาหารฟาสฟูด (Fast food) เพราะเป็นอาหารที่สะดวกและอร่อยจากการเติมสารเคมีลงไปทำให้คนติดในรสชาติอร่อย เกิดการกินอาหารตามใจปากจนลืมนึกความลำบากที่จะตามในภายหลังซึ่งเป็นโทษภัยของอาหารที่จะตามมา และการกินอาหารตามกระแสนิยมนั้นเหมือนเป็นการแสดงถึงความทันสมัย

    เพราะฉะนั้นการเลือกรับประทานอาหาร ควรพิจารณาก่อนรับประทานทุกครั้ง ว่าอาหารที่กำลังจะรับประทานให้คุณหรือให้โทษอย่างใดทั้งที่รู้ว่าเป็นโทษก็ควรเลี่ยง เช่น อาหารที่มีรสจัดจ้าน อาหารสำเร็จรูป เป็นต้น รับประทานให้พอเหมาะไม่มากหรือน้อยเกินไป รับประทานอาหารให้ตรงเวลาอาหารเช้าเป็นมื้อที่สำคัญที่สุด คือในช่วงเวลา 07.00 น. - 09.00 น. เพราะเป็นช่วงเวลาที่กระเพาะจะทำงานได้เต็มประสิทธิภาพสูงสามารถหลั่งกรดมาย่อยอาหารมากที่สุด ขณะที่กำลังรับประทานควรเคี้ยวให้ละเอียด เลี่ยงการกินข้าวคำน้ำคำเพราะจะทำให้น้ำย่อยในกระเพาะเจือจาง ส่งผลต่อการย่อยที่ไม่ดี เลือกรับประทานผักและเนื้อสัตว์ให้หลากหลาย เลือกกินผักอย่างหลากหลาย และควรกินทั้งผักสุกและผักดิบ ไม่ควรกินผักชนิดเดิมๆ ซ้ำกัน ติดต่อกันหลายวัน อย่างน้อยใน 1 วันควรกินผักไม่ต่ำกว่า 5 ชนิด ส่วนเนื้อสัตว์ควรเลาะหนังหรือส่วนที่ติดมันออกเพื่อลดแคลอรีลงบ้าง เนื้อวัวและเนื้อหมูย่อยยากเกินไป ควรหันมากินเนื้อปลาแทนบ้าง เพราะย่อยง่าย มีไขมันน้อย กินให้ครบทุกสิ่งที่ธรรมชาติมี พยายามรับประทานผัก ผลไม้ ธัญพืชต่างๆ  ให้หลากสี เป็นต้นว่า สีแดงมะเขือเทศ สีม่วงองุ่น สีเขียวบล็อกเคอรี สีส้มแครอท สีดำถั่วดำ อย่ายึดติดอยู่กับการกินอะไรเพียงอย่างเดียว เพราะพืชต่างสีกัน มีสารอาหารต่างชนิดกัน ยังเป็นการเพิ่มสีสันในการรับประทานด้วย และอาหารที่ดีสุดก็คือ อาหารที่มีอยู่ในท้องถิ่นนั้นๆเกิดตามฤดูกาล เพราะอาหารที่ปรุงขึ้นนั้นได้ปรับสมดุลของอาหารไว้อยู่แล้ว อย่างเช่น แกงหน่อไม้ ในหน่อไม่จะพิษอยู่ที่มีผลต่อข้อกระดูก จึงได้มีการเติมน้ำย่านางลงไปเพื่อดับพิษเพราะย่านางมีฤทธิ์เย็น หรือในต่างประเทศ เช่น ชาวอัฟริกันจะกินข้าวโพดซึ่งจะย่อยยากจึงต้องกินพริกและเครื่องเพื่อช่วยย่อยได้ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของแต่ละพื้นที่

    เลือกอาหารให้เหมาะสมกับร่างกายในขณะนั้นๆ ถ้าหากอยู่ในช่วงที่กำลังไม่สบายควรเลี่ยงอาหารที่มีรสจัดทุกชนิด และเลือกรับประทานที่มีรสชาติอ่อนและย่อยง่าย เช่น ข้าวต้มหรือโจ๊ก เป็นต้น และสำหรับผู้ที่กำลังฟื้นตัวสามารถรับประทานอาหารที่เป็นข้าวธรรมดาได้แต่รสชาติอาหารยังเป็นรสชาติที่อ่อนอยู่และกินในปริมาณที่น้อยแต่สามารถกินได้ทุกเมื่อถ้าหากหิวเพราะช่วงที่ไม่สบายกระเพาะไม่ค่อยได้ทำงานหนักจึงต้องค่อยๆทานไปก่อน และสามารถทานได้บ่อยเพราะร่างกายกำลังอยู่ในช่วงซ่อมแซมจึงต้องการอาหารเป็นตัวช่วย 

    ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของอาหารด้วยซึ่งเริ่มมาตั้งแต่กระบวนการผลิตอาหารที่ไม่มีสารปนเปื้อนของสารเคมี และควรเป็นอาหารที่สด ใหม่ สะอาด ต้องรู้จักเปลี่ยนกับความที่คุ้นชินกับอาหารแบบเดิม แล้วหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น ดังนั้นหลักการเลือกบริโภคอาหารจึงสรุปได้ ดังนี

หลักการเลือกอาหารบริโภคในชีวิตประจำวัน

1.เลือกรับประทานอาหารสด  อาหารธรรมชาติที่ดัดแปลงหรือผ่านขบวนการน้อยที่สุด ปรุงใหม่ ๆ มากกว่าอาหารสำเร็จรูป 

2.เลือกรับประทานอาหารหลาย ๆ ชนิดในแต่ละวัน

3.หลีกเลี่ยงอาหารปรุงแต่ง  เจือสีสังเคราะห์ สารฟอกสี ผงชูรส อาหารหมักดอง ใช้สารเคมี เช่น สารไนเตรท ได้แก่ แฮม เบคอน ไส้กรอก

4.หลีกเลี่ยงอาหารขบเคี้ยว อาหารมีคุณค่าน้อย เช่น น้ำอัดลม ไอศครีม  อาหารกรอบ ๆ ที่มีรสเค็ม    มันฝรั่งทอด

5.หลีกเลี่ยงการใช้น้ำตาลและอาหารหวานจัด หันมาใช้น้ำมันมะกอก หรือน้ำมันดอกทานตะวัน ปรุงอาหารแทนน้ำมันแบบเดิมที่เคยใช้ เพราะเป็นไขมันที่ไม่เป็นโทษต่อร่างกาย และมีกรดไขมันอิ่มตัวที่เป็นประโยชน์ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือดได้เป็นอย่างดี

6.เลือกรับประทานอาหารที่มีโปรตีนจากพืชและสัตว์

7.รับประทานผัก ผลไม้ ธัญพืช ทุกมื้ออาหาร ให้มีความหลากหลายทั้งด้าน ชนิด และ สี

8.รับประทานผลไม้สดทุกวัน

9.ให้เวลาในการรับประทานอาหารที่มีความผ่อนคลายไม่เร่งรีบ

10.รับประทานอาหารเช้าทุกวัน

11.ก่อนเลือกอาหารคำนึงถึงคุณค่าอาหารต่อสุขภาพ ควบคู่กับความถูกใจ

12.เลือกรับประทานอาหารในท้องถิ่นเป็นประจำและเกิดตามฤดูกาล